วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บรรณานุกรม


บรรณานุกรม
th.wikipddia.org/wiki
สืบค้นวันที่ 17 มิถุนายน พ..2556

มอโนโลโฟซอรัส


20.มอโนโลโฟซอรัส




  มอโนโลโฟซอรัส เป็นเทอโรพอดจากยุคจูราสสิคเมื่อประมาณ 170 ล้านปีก่อน มีขนาดยาว 5 เมตร(16ฟุต) พื้นที่ที่ขุดพบมอโนโลโฟซอรัสมีการพบสัญญาณของนํ้าจึงเป็นไปได้ว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้อาศัยอยู่บนชายฝั่งของทะเลสาบหรือมหาสมุทรมอโนโลโฟซอรัสน่าจะพัฒนามาจากเมกะโลซอรัส มอโนโลโฟซอรัสถูกจัดให้อยู่ในตระกูลอัลโลซอร์ แต่ในปี2009ชาล์เอ็ทอัลกล่าวคุณสมบัติพื้นฐานต่างๆของโครงกระดูกโดยบอกว่า มอโนโลโฟซอรัส เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ในตระกูล เทตันนูรี


แคมป์โทซอรัส


19.แคมป์โทซอรัส




  แคมป์โทซอรัส มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูแรสสิค ชื่อนี้มาจากโครงสร้างของของมันที่สามารถยืนตรง 2 เท้าหรือ 4 เท้าก็ได้ ขนาดตัวไม่ใหญ่มากนัก ความยาวประมาณ 6.5 เมตร และ ส่วนสูง 2 เมตรจากพื้นถึงเอว เป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มสะโพกนก(Ornithischia)รุ่นแรกๆของกลุ่มสายพันธุ์ที่ต่อไปในสมัยหลังจะวิวัฒนาการไปเป็น อิกัวโนดอน และ ไดโนเสาร์ตระกูลปากเป็ดในสมัยครีเตเชียส มันมีปากตัด เพื่อเอาไว้สำหรับกินพืชในป่า

ไซคาเนีย


18.ไซคาเนีย




  ไซคาเนีย เป็นไดโนเสาร์หุ้มเกราะชนิดหนึ่ง ชื่อของมันมีความหมายว่าสวยงาม อาศัยอยู่ใน ยุคครีเทเชียสตอนปลาย ตรงที่หางคล้ายมีกระบองติดอยู่ กระบองใช้เป็นอาวุธฟาดศัตรู สาเหตุที่มันได้ชื่อว่างดงามเป็นเพราะฟอสซิลของมันอยูในสภาพสมบูรณ์มาก ยาวประมาณ เมตร กินพืชเป็นอาหาร ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1977

เตาเจียงโกซอรัส


17.เตาเจียงโกซอรัส




  เตาเจียงโกซอรัส เป็นชื่อไดโนเสาร์สายพันธุ์ใกล้เคียงกับไดโนเสาร์ตระกูลสเตโกซอรัส ซึ่งมีแผงเต็มหลังและมีหนามแหลมอยู่ที่ปลายหางหลายเล่ม โดยคณะสำรวจได้ค้นพบในประเทศจีนทั้งนี้ ชื่อ เตาเจียงโกซอรัส หมายถึง กิ้งก่าแห่งแม่น้ำเตา นั่นเอง


ซานตาน่าเเรปเตอร์


16.ซานตาน่าเเรปเตอร์




  ซานตาน่าแรปเตอร์ ถูกประกาศชื่อแรกในปี ค.ส.1996 มันมีลักษณะและสัดส่วนคล้ายกับออริโนโตรัสเตส นิ้วมือนิ้วเท้ามี3นิ้ว กระดูกมีลักษณะกลวงคล้ายกับกระดูกของนกในปัจจุบัน กระดูกขาส่วนน่องมีความยาวถึงสองในสามของความยาวขาทั้งหมด ร่างกายปราดเปรียวและว่องไว สามารถล่าเหยื่อเป็นฝูงเพื่อล้มเหยื่อขนาดใหญ่ได้

อาร์คีออปเทอริกซ์


15.อาร์คีออปเทอริกซ์




  อาร์คีออปเทอริกซ์ หรือที่รู้จักกันในนามของ “Urvogel” (ออกเสียง:อูร์ฟอเกิล) ซึ่งเป็นภาษาเยอรมันแปลว่านกต้นกำเนิดหรือนกชนิดแรก เป็นนกรุ่นแรกสุดที่มีความเก่าแก่โบราณที่สุดเท่าที่รู้จักกันมา ชื่อมาจากภาษากรีกโบราณ ρχαος(archaios) หมายถึง เก่าแก่โบราณและ πτέρυξ(pteryx) หมายถึงขนหรือปีกอาร์คีออปเทอริกซ์มีชีวิตอาศัยอยู่ในช่วงปลายของยุคจูแรสซิกหรือประมาณ 150-145 ล้านปีมาแล้ว ในสถานที่ที่ปัจจุบันอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี ในช่วงเวลาที่ยุโรปมีสภาพเป็นหมู่เกาะ เป็นทะเลตื้น ที่มีภูมิอากาศแบบเขตร้อน และอยู่ใกล้กับแนวเส้นศูนย์สูตรมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมาก

ช้างแมมมอธ


14.ช้างแมมมอธ




  ช้างแมมมอธ เป็นช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อ 20,000 ปีก่อน แต่สูญพันธุ์ไปเพราะถูกมนุษย์ยุคหินล่า มีขนยาวปกคลุมเพื่อป้องกันความหนาวเย็น มีงายาวและโค้ง การค้นพบซากแมมมอธ สามารถนำมาศึกษาวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก เพราะแมมมอธเคยผ่านช่วงเวลานั้นมา พ.ศ. 2550 ได้มีการพบซากลูกช้างสูง 130 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ใกล้กับแม่น้ำยูริเบ ในเขตปกครองตนเอง ยามาล - เนเน็ต ทางตะวันตกเฉียงเหนือของไซบีเรีย โดย ยูริ คูดี

โดโด้


13.โดโด้




  โดโด้ เป็นนกท้องถิ่นที่พบได้เฉพาะบนหมู่เกาะมอริเชียสในมหาสมุทรอินเดีย เป็นนกที่บินไมได้อยู่ในตระกูลเดียวกับนกพิราบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Raphuscucullatusในปี พ.ศ. 2048 ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปพวกแรกที่พบ และเพียงประมาณปี พ.ศ. 2224 มันก็สูญพันธุ์อย่างรวดเร็วโดยมนุษย์ รวมถึงสุนัขล่าเนื้อ หมู หนู ลิง ที่ถูกนำเข้าโดยชาวยุโรปโดโด้ไม่ใช่นกเพียงชนิดเดียวในมอริเชียสที่สูญพันธุ์ในศตวรรษนี้ จากนกกว่า 45 ชนิดที่พบบนเกาะ มีเพียง 21 ชนิดเท่านั้นที่เหลือรอด นกสองชนิดซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับโดโด้ก็สูญพันธุ์ไปเช่นกัน คือ Reunion solitaire (Raphussolitarius) ประมาณปี พ.ศ. 2289 และ Rodrigues solitaire (Pezophapssolitaria) ประมาณปี พ.ศ. 2333 เมื่อทศวรรษพ.ศ. 2533 วิลเลียม จ. กิบบอนส์ นำคณะสำรวจขึ้นค้นหาบนเขาบนเกาะมอริเชียส แต่ก็ไม่มีใครค้นพบ จึงประกาศการสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการ

บารีโอนิกซ์


12.บารีโอนิกซ์




  บารีโอนิกซ์  เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่อยู่ในวงศ์สไปโนซอร์ มีถิ่นกำเนิดที่อังกฤษ บารีโอนิกซ์มีฟันรูปกรวย มันมีเล็บหัวแม่มือที่ใหญ่กว่าเล็บอื่น ยังมีการพบเกล็ดปลาดึกดำบรรพ์ เลปิโดเทส ที่กระเพาะอาหารของมันอีกด้วย ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงคาดว่า มันคงจะกินปลาเป็นอาหาร โดยใช้เล็บจิกปลาขึ้นมากิน แต่อย่างไรก็ตาม มันก็กินไดโนเสาร์อื่นๆ และกระทั่งลูกของมันเอง มันมีความยาวประมาณ10.5เมตร อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ120ล้านปีก่อน

คอมซอกนาทัสล


11.คอมซอกนาทัสล




  คอมซอกนาทัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด สกุลไดโนเสาร์ที่ตัวเล็กที่สุดในโลก ลำตัวยาวประมาณ 70 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเพียง 3 กิโลกรัม ฟอสซิลของมันพบในเหมืองที่ประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ยีงพบในประเทศไทยของเราด้วย พบเศษกระดูก 2 ชิ้นของกระดูกแข้งด้านซ้าย และกระดูกน่องด้านขวา มีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร พบที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น พบอยู่ในเนื้อหินทรายหมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียสตอนต้น ลักษณะของกระดูกที่พบมีลักษณะใกล้เคียงกับคอมพ์ซอกเนธัส ลองกิเปส




ทรูโอดอน


10.ทรูโอดอน




  โทรโอดอน เป็น ไดโนเสาร์ กินเนื้อที่จัดว่าเป็นไดโนเสาร์ทีมีความฉลาดมากที่สุด ไดโนเสาร์โทรโอดอนเป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ใน ช่วงครีเตเชียสตอนปลาย พบได้ ในประเทศอเมริกาและคานาดา ไดโนเสาร์โทรโอดอนจัดว่าเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดเล็กกว่า ไดโนเสาร์พันธุ์อื่น ๆ เพราะโครงสร้างที่บอบบาง ลำตัวมีความยาวประมาณ 1.8 เมตร ข้างกะโหลกศีรษะของมัน ค่อนข้างแตกต่างจากไดโนเสาร์พันธุ์อื่น ๆ เพราะบริเวณด้านหลังและด้านข้างของจมูก จะมีโครงกระดูกแหลมโผล่ออกมา ฟันมีลักษณะแหลมและเป็นซี่เล็ก ๆ ตาโต ทำให้สามารถ มองเห็นวัตถุต่าง ๆ ได้ดี มีนิ้วมือสำหรับตะครุบ

เฮอร์รีราซอรัส


9.เฮอร์รีราซอรัส



  เฮอรีราซอรัส มีชีวิตอยู่ในช่วงต้น ของยุคไทรแอสสิค พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในยุคไทรแอสสิค ความ ยาว 5 เมตร คล้ายนก ฟันมีลักษณะแหลมคม คอสั้น กระดูกต้นขายาว กว่ากระดูกหน้าแข้ง มีนิ้วเท้า 4 นิ้ว กระดูกสะโพกชิ้นหน้าเอียงไปทางด้านหลังค่อนข้าง คล้ายกับไดโนเสาร์ที่มีสะโพกเหมือนนกชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าเฮอร์รีรา


อิกัวโนดอน


8.อิกัวโนดอน




  อิกัวโนดอน เป็นสิ่งมีชีวิตสกุลหนึ่งในกลุ่มของไดโนเสาร์กินพืช มีขาหลังใหญ่และแข็งแรง ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปลายยุคจูแรสซิกและต้นยุคครีเทเชียส (ประมาณ 135 ถึง 110 ล้านปีมาแล้ว) ในพื้นที่กว้างใหญ่ตั้งแต่ทวีปยุโรป ไปจนถึงตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกอิกัวโนดอนเป็นสิ่งมีชีวิตสกุลที่มีขนาดใหญ่และพบกระจัดกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างมากที่สุดเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตวงศ์เดียวกัน ลำตัวของมันยาวกว่า 10 เมตรเมื่อยืดตัวขึ้นจะมีความสูง 5 เมตร หนัก 4-5 ตัน สันนิษฐานว่าอิกัวโนดอนเคลื่อนที่โดยใช้ขาทั้ง 4 ขา แต่ก็อาจเดินได้โดยใช้เพียงสองขา มือที่ขาหน้าของอิกัวโนดอนมี 5 นิ้ว หัวแม่มือแข็งแรงและชี้ขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือ ซากดึกดำบรรพ์และรอยเท้าที่พบทำให้เชื่อว่าอิกัวโนดอนมักอยู่เป็นฝูง

สไปโนซอรัส


7.สไปโนซอรัส




  สไปโนซอรัส มีความหมายว่าสัตว์เลื้อยคลานมีแผง สไปโนซอรัส ถูกค้นพบครั้งแรกในอียิปต์ ในปี ค.ศ.1910 เป็นสัตว์กินเนื้อยืน 4 ขา มีจุดเด่น คือกระดูกสันหลังสูงเป็นแผ่นคล้ายใบเรือ รูปวงรี มี11ชิ้น ชิ้นที่ยาวที่สุดมีความยาว 1.69 เมตร เชื่อกันว่าใช้ควบคุมอุณหภูร่างกาย กะโหลกศรีษระมีจงอยปากแคบที่เต็มไปด้วยฟันรูปกรวย มีหงอนคู่ขนาดเล็กอยู่เหนือดวงตา แขนแข็งแกร่งมี 3นิ้ว สามารถใช้เป็นอาวุธและจับเหยื่อได้ มีความยาว 16-18 เมตร (ส่วนกะโหลก ยาว 1.75 ม.) น้ำหนัก 7 - 10 ตัน อาศัยอยู่ใน ทวีปแอฟริกา มีชีวิตอยู่ในตอนกลางของยุคครีเตเชียส (100-97 ล้านปีที่แล้ว) ในช่วงที่มันอาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนกลาง มันมีคู่แข่งที่สำคัญอย่าง คาร์ชาโรดอนโทซอรัส ที่อาศัยอยู่ยุคเดียวกันที่มีความยาว13เมตรและเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับ3ของโลก สไปโนซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ1ในโลก , มันมีญาติอย่าง ซูโคไมมัส
  ซอรัส แปลว่า สัตว์เลื้อยคลานหัวหาย ขา 4 ข้างใหญ่เหมือนเสา สามารถรับน้ำหนักตัวมันได้ แม้จะอยู่บนบก หรือ ยืน 2 ขาขึ้นเพื่อหาใบไม้อ่อนยอดสูงกิน ที่เท้าหน้าของอะแพทโทซอรัส มีเล็บแหลมตรงนิ้วโป้ง ซึ่งปัจจุบันนักโบราณชีววิทยา สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอาวุธใช้ป้องกันตัวต่อสู้กับพวกอัลโลซอรัส ด้วยการยืน 2 ขา แล้วใช้เล็บแหลมนี้ทิ่มจิกนักล่า





ไทรเซอราทอปส์


6.ไทรเซอราทอปส์




  ไทรเซอราทอปส์ เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในปลายยุคครีเทเชียสราว 68-65ล้านปีมันเป็น1ในไดโนเสาร์ชนิดสุดท้าย ไทรเซอราทอปส์เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่หนักราว6-8ตันและยาวได้กว่า6-10เมตรโดยทั่วไปแล้วไทรเซอราทอปส์จะกินเฟริน สนซึ่งเป็นพืชเนื้อหยาบมันมีจงอยปากคล้ายนกแก้วไว้ตัดพืช และมันจะกลืนหินไปในกระเพาะเพื่อบดอาหารหินนี้เรียกว่า แกสโตรลิท ไทรเซอราทอปส์มีวิถีชีวิตคล้ายแรดอยู่รวมเป็นฝูงเล็มอาหารเมื่อถูกคุกคามจากนักล่า เช่น ไทรันโนซอรัส จะหันหน้าเป็นวงกลมให้ตัวอ่อนแอและเด็กอยู่ในวงล้อม หากศัตรูเข้ามาทางใดจะพุ่งชนด้วยแรงชนกว่า6ตัน ไทรเซอราทอปส์มีเขา3เขาอยู่บนหัวเขาแรกยาว20เซนติเมตรอยู่เหนือจมูก ส่วน2เขาหลังอยู่ที่ตายาวราว1เมตรแทงเพียงครั้งเดียวอาจถึงตาย บางตัวเขาอาจยาวกว่า2เมตร แต่ด้วยพละกำลังและขนาดเป็น2เท่าของช้างนักล่าส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยโจมตีมัน แต่มันมีจุดอ่อนที่แผงคอทำให้มันมองหลังไม่ดีแต่หากโจมตีข้างหน้าสถานการจะกลับกัน ไทรเซอราทอปส์กินค่อนข้างมากเฉลี่ยถึง500กิโลกรัม มันมีชื่อเสียงพอๆกับที-เร็กซ์และมักเห็นภาพมันเข้าปะทะกับที-เร็กซ์ทำให้เจ้า3เขาตัวนี้ได้คำขนานนามว่า คู่ปรับแห่งราชาไดโนเสาร์ นอกจากนี้มันยังเป็นพระเอกในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องไดโนคิง (DINOSAUR KING) อีกด้วย ไทรเซอราทอปส์มีชื่อเต็มว่าไทรเซอราทอปส์ฮอริดัส ฟอสซิลของไทรเซอราทอปส์ตัวเเรกพบโดยมารช์ คู่เเข็งของโคป ในสงครามกระดูกไดโนเสาร์

ไฮโนซอรัส


5. ไฮโนซอรัส




  ไฮโนซอรัส  เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานทะเลในวงศ์ โมซาซอร์ ได้รับการขนานว่าเป็น โมซาซอร์ ที่ใหญ่ที่สุด โดยได้รับฉายาว่า ที.เร็กซ์แห่งมหาสมุทรตอนแรกประมาณการความยาวไว้ที่ 17เมตร(56 ฟุต) ต่อมาในปี 1990 มีการปรับขนาดลดลงมาที่15 เมตร(49 ฟุต) แต่ต่อมา นักวิทยาศาสตร์ จอห์น ลินเกรน ได้ลดขนาดลงมาที่ 12.2เมตร (40 ฟุต) แต่ก็ยังถือว่าใหญ่อยู่ดี มันเป็นหนึ่งในนักล่าในทะเลที่อยู่บนสุดใน ยุคครีเทเซียส มันมีคู่แข่งร่วมยุคอย่าง อีลาสโมซอรัส โดยมีการพบหลักฐานฟอสซิลรอยกัดของ ไฮโนซอรัส ที่บริเวณหาง และคลีบ ของ อีลาสโมซอรัส

ไลโอพลัวเรอดอน


4.ไลโอพลัวเรอดอน




  ไลโอพลัวเรอดอน เป็นสกุลกิ้งก่าทะเลในตระกูลสัตว์เลื้อยคลานที่เรียกกันว่าไพลโอซอร์ซึ่งมีชีวิตอยู่ในกลางยุคจูราสสิค ประมาณ 160-155 ล้านปีก่อน ช่วงกลางยุคมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดชื่อ Liopleurodonferoxและ Liopleurodonpachydeirusส่วนอีกชนิดชื่อ Liopleurodonrossicusอยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิค แต่ทั้งหมดล้วนเป็นกลุ่มนักล่าที่ยิ่งใหญ่แห่งท้องทะเลที่ครอบคลุมพื้นที่ ยุโรป ซึ่งแหล่งฟอสซิลที่สำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี และรัสเซีย แต่มักเป็นตัวอย่างที่ไม่สมบูรณ์นัก ขนาดตัวของไลโอพลัวเรอดอนประเมินได้จากฟอสซิลกะโหลก ศีรษะที่มีความยาวประมาณ 1 ใน 7 ของลำตัว จากกะโหลกใหญ่สุดของ L. feroxที่ยาวถึง 1.5 เมตร ทำให้เชื่อว่าตัวเต็มๆของมันคงยาวได้ประมาณ 11 เมตร แต่โดยรวมแล้วลีโอพลูโรดอนตัวยาวได้ระหว่าง 7-15 เมตร อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากบีบีซีบอกว่าไลโอพลัวเรอดอนบางตัวสามารถยาวได้ถึง 25 เมตร ขณะที่มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 2.5-5 ตัน ส่วนรูปลักษณ์ของไลโอพลัวเรอดอนมีขาเป็นพายแข็งแรง เหมือนกิ้งก่าทะเลทั่วไป แสดงให้เห็นว่ามันสามารถว่ายน้ำได้เร็วมากจากพลังขับดันของขา นอกจากนี้ยังมีขากรรไกรยาวพร้อมฟันแหลมคม และสามารถรับรู้กลิ่นได้ดี โดยมันจะได้กลิ่นเหยื่อตั้งแต่ระยะไกล

โมซาซอร์


3.โมซาซอร์




  โมซาซอร์ เป็นกลุ่มกิ้งก่าทะเลคล้ายงูในวงศ์Mosasauridaeที่เคยมีชีวิตอยู่ปลายยุคครีเทเชียสเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากสัตว์กลุ่มกิ้งก่าและงูSquamataที่รู้จักกันว่าaigialosaursช่วงต้นยุคและหลังจากที่มีการวิเคราะห์วิวัฒนาการของมันโดยดูโครงสร้างขากรรไกรและกะโหลกศีรษะที่ยืดหยุ่นได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากิ้งก่ากลุ่มนี้น่าจะเป็นญาติใกล้ชิดกับงูตัวเล็กสุดมีขนาดยาวประมาณ 3-3.5 เมตร ในวงศ์ย่อย Mosasaurinaeส่วนตัวใหญ่สุดยาวระหว่าง 9-15 เมตร


แรมโฟริงคัส



2.แรมโฟริงคัส




  แรมโฟริงคัส  เป็นเทอโรซอร์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิก มีฟันแหลมคมไว้ใช้สำหรับจับปลา และมีหางยาว ซึ่งปลายหางมีหางเสือรูปสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งใช้ในการรักษาสมดุล อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิกตอนต้น-ยุคจูแรสซิกตอนปลาย ค้นพบฟอสซิลที่เยอรมนี ในปีค.ศ. 1831 และยังค้นพบฟอสซิลที่ทวีปแอฟริกาอีกด้วย

อีลาสโมซอรัส


สัตว์ดึกดำบรรพ์ 
1.อีลาสโมซอรัส


  อีลาสโมซอรัส มีลำตัวยาว 14 เมตร (46 ฟุต) และหนักราว 2 ตัน ทำให้มันเป็นมังกรทะเลตัวยาวลำดับ รองจาก ไฮโนซอรัสสัตว์เลื้อยคลานทะเลในตระกูลโมซาร์ซอร์ มีลำตัวที่ใหญ่และ ส่วนขาเป็นครีบ 4 ข้าง ความยาวของมันมากกว่าครึ่งเป้นส่วนคอ ประกอบด้วยกระดูกมากกว่า 70 ซึ่งมีจำนวนกระดูกคอมากกว่าสัตว์ทุกชนิด ส่วนหัวค่อนข้างเล็ก และ ฟันคมกริบ


คำนำ


คำนำ
รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเอกสารประกอบการเรียนวิชาสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ง.30204 เรื่อง สัตว์ดึกดำบรรพ์จำนวน 15 ชนิดซึ่งประกอบด้วย  1.อีลาสโมซอรัส 2.แรมโฟริงคัส 3.โมซาซอร์ 4.ไลโอพลัวเรอดอน5. ไฮโนซอรัส6.ไทรเซอราทอปส์ 7.สไปโนซอรัส 8.อิกัวโนดอน 9.เฮอร์รีราซอรัส 10.ทรูโอดอน 11.คอมซอกนาทัสล 12.บารีโอนิกซ์ 13.โดโด้ 14.ช้างแมมมอธ 15.อาร์คีออปเทอริกซ์ 16.ซานตาน่าเเรปเตอร์ 17.เตาเจียงโกซอรัส 18.ไซคาเนีย 19.แคมป์โทซอรัส 20.มอโนโลโฟซอรัส
โดยมีแรงบันดาลใจมาจากการได้ไปรับชมภาพมาจึงเกิดความสงสัยเลยอยากที่ศึกษาและค้นคว้า
จึงได้จัดทำรายงานฉบับนี้ขึ้นเพื่อศึกษาสายพันธุ์ของสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สูญไปแล้ว
ผู้จัดทำจึงได้เรียบเรียงเนื้อหาให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
การจัดทำรายงานครั้งนี้ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการประการรู้เรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย
และขอขอบคุณเว็บที่เกี่ยวข้องที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์

นางสาวพรศิริ  บูรพิษ

หน้าปก


รายงาน
เรื่อง สัตว์ดึกดำบรรพ์

เสนอ
คุณครู ศุภสันห์     แก้วสำราญ

จัดทำโดย
นางสาวพรศิริ   บูรพิษ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2    เลขที่ 21


รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต   ง 30204

ภาคเรียนที่ 1    ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนเมืองกระบี่